วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของ อำเภอ งาว จังหวัด ลำปาง


                    อำเภองาวเป็นอำเภอหนึ่งใน 13 อำเภอ ของจังหวัดลำปาง  แรกเริ่มเดิมทีประมาณ พ.ศ.1780  เป้นที่ตั้งหลักแหล่งทำมาหากินของชนชาวอาณาจักรหิรัญนครและโยนกเชียงแสน โดยสถานที่แห่งนี้เป้นดอยเตี้ย ๆใกล้ฝั่งแม่น้ำ  จึงเรียกว่า "เวียงบน" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น"เมืองเงิน" ต่อมาประมาณ พ.ศ.2302  รวมอยู่กับเขลางค์นคร หรือลำปางในปัจจุบัน 
เป็นเมืองหน้าด่านคอยต่อต้านข้าศึกคือพวกเงี้ยวและพม่า มีผู้นำที่สามารถกล้าหาญเคยอาสาไปปราบเงี้ยวที่เมืองเชียงตุงได้ชัยชนะ พร้อมนำง้าวด้ามเงินมาถวายเจ้าผู้ครองนครลำปาง จึงไดรับขนานนามเป็น"พญาง้าวเงิน" และเรียกชื่อเมืองว่า"เมืองง้าวเงิน"  ต่อมาเรียกสั้นๆ ว่า "เมืองง้าว"  และจนสุดท้ายเรียก"เมืองงาว"  ต่อมาประมาณ ร.ศ.122  ได้มีการจัดการปกครองในลักษณะเทศาภิบาล  จึงเป็นแขวงหนึ่งในมณฑลพายัพ และต่อมาได้จัดตั้งเป็น"อำเภองาว"มาจนถึงปัจจุบันนี้
http://www.amphoe.com/menu.php?am=550&pv=51&mid=1






คำขวัญอำเภองาว :: หนึ่งในสยามคือถ้ำผาไท ศูนย์รวมจิตใจเจ้าพ่อประตูผา เครื่องหนังงามตา ล้ำค่าไม้แกะสลัก อนุรักษ์วัฒนธรรม งามล้ำอำเภองาว.










ขนาดที่ตั้ง

เนื้อที่/พื้นที่   
                  
             เนื้อที่/พื้นที่   181.531 ตร.กม.

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
         
             เป็นเขตร้อนชื้น มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

ข้อมูลการปกครอง

1.ตำบล
10 แห่ง
2.หมู่บ้าน
85 แห่ง
3.เทศบาล
2 แห่ง
3.เทศบาล
8  แห่ง

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม


ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม

1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
ข้าว,กระเทียม,ข้าวโพด
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ
(แม่น้ำ/บึง/คลอง)  แม่น้ำงาว
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ 
1 โรงงานผลิตตะเกียบ,ไม้จิ้มฟัน  ที่ตั้ง  บ้านร้อง  ม.2  ต.บ้านร้อง
2 โรงงานอบลำใย  ที่ตั้ง  บ้านสบพลึง  ม.3  ต.บ้านโป่ง
3 โรงงานผลิตเครื่องหนัง  ที่ตั้ง บ้านสบแหง  ม.1   ต.หลวงเหนือ

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

1 .อาชีพหลัก
การทำเกษตรกรรม(ปลูกข้าว)
2.อาชีพเสริม
ปลูกกระเทียม  ปลูกข้าวโพด
3.จำนวนธนาคาร
มี 3 แห่ง ได้แก่
ธนาคารออมสิน  โทร. 
ธนาคาร ธ.ก.ส.   โทร.
ธนาคารทหารไทย  โทร. 
http://www.amphoe.com/menu.php?am=550&pv=51&mid=1

ลักษณะที่ตั้ง

  
              อำเภองาวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เป็นอำเภอชายแดนติดกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ ที่ว่าการอำเภอปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน สายลำปาง-พะเยา บริเวณบ้านหนองเหียง ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 83 กิโลเมตร จากตัวเมืองพะเยาประมาณ 50 กิโลเมตร และจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 89 กิโลเมตร


แผนที่อำเภอ งาว 

แหล่งที่ท่องเที่ยว

                  อำเภองาว  ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง  เป็นอำเภอเล็กบรรยากาศสงบ เมือง งาวเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณมีอายุกว่า 700 ปี  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม มีธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และวิถีชีวิตชนเป่าที่งดงาม อำเภองาว เดิมมีชื่อว่า เมืองเงินเป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญของเมือง เขลางค์นคร(ลำปาง) เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าว เป็นอาวุธสำคัญ เมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึง เมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยว ที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขิน จนถึงแคว้นสิบสองปันนาได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือ เจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงิน เป็นบำเหน็จคุณงามดี และความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง จึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงิน กาลเวลาผ่านมา ได้เรียกเพี้ยนเป็น 'เมืองงาว'

น้ำตกแม่แก้

          

                                                                                      

น้ำตกแม่แก้ 
                                http://www.paiduaykan.com/province/north/lampang/pic/maekae10.jpg


น้ำตกแม่แก้
https://wannisamime.files.wordpress.com/2013/08/e0b899e0b989e0b8b3e0b895e0b881e0b981e0b8a1e0b988e0b981e0b881e0b989.jpg

       

                 น้ำตกแม่แก้ อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสวนสักกระจายอยู่ทั่วไป เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์จำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ชั้นที่ 160 มีจุดเด่นและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญ คือ ถ้ำผาไท หล่มภูเขียว บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนกิ่วลม ถ้ำออกรู ห้วยแม่พลึง นอกจากนี้ยังมีน้ำตกขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  เช่น น้ำตกแม่แก้ แห่งนี้ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก เกิดจากลำห้วยแม่แก้ ตั้งอยู่บริเวณบ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปาง การเดินทางใช้เส้นทางรถยนต์จากอำเภองาว ถึงบริเวณน้ำตก ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
การเดินทาง
          อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวจังหวัดลำปาง-พะเยา-เชียงราย ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665-666 จะเห็นป้ายอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ต่อจากนั้นเลี้ยวเข้าปากทางประมาณ 300 เมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หรือจะเดินทาง โดยใช้เส้นทางสายจังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดเชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายสู่จังหวัดลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท




หล่มภูเขียว


                                                                 


หล่มภูเขียว
 https://kissmekissyou932.files.wordpress.com/2015/01/e0b8a3e0b989e0b8ade0b8a2e0b980e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8ade0b887e0b8a3e0b8b2e0b8a71006.jpg
              

                  ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บนภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 1-2 ไร่ มีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟ น้ำในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียว มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
               การเดินทาง หล่มภูเขียวอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) จากเส้นทางสายลำปาง-พะเยา เข้าไป ประมาณ 14 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางแยกไปสู่หมู่บ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง เส้นทางเป็นทางลูกรัง จากบ้านอ้อน มีทางเดินเท้าไปหล่มภูเขียว;ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตรแหล่งท่องเที่ยว






เจ้าพ่อประตูผา

                           



เจ้าพ่อประตูผา
 http://thai.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Attraction/4145/_DSF8412%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%9C%E0%B8%B2_1443371778.jpg

                       เจ้าพ่อประตูผาหรือพระยามือเหล็กเป็นคนบ้านต้า(ปัจจุบันคือบ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง)เป็นเด็กกำพร้าบิดามารดา บวชเรียนป็นศิษย์ของเจ้าอธิการวัดนายาง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้ศึกษาวิชาอยู่ยงคงกระพัน สามารถใช้แขนแทนโล่ห์ได้ เมื่อลาสิกขาออกมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า หนานข้อมือเหล็กต่อมาไปเป็นทหารเมืองเขลางค์(ลำปาง) รับใช้เจ้าเมืองลำปางขณะนั้นคือ เจ้าลิ้นก่าน (ลิ้นสีดำ) เพราะมีนิสัยกล้าหาญและมีฝีมือในการรบจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยามือเหล็ก ต่อมาเมืองเขลางค์ถูกทัพพม่าซึ่งมีท้าวมหายศซึ่งยึดครองเมืองลำพูนรุกราน เจ้าลิ้นก่านพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งและพระยามือเหล็กจึงหนีมาตั้งหลักที่ดอยประตูผา และได้มอบหมายให้ขุนนาง4คนคือ แสนเทพ แสนหนังสือ แสนบุญเรือน และจเรน้อย ดูแลรักษาเมืองอยู่ ขุนนางทั้งสี่ไม่กล้าต่อสู้กับทหารพม่าซึ่งกำลังจะเข้าบุกเมือง เจ้าอธิการวัดนายางจึงรวบรวมชาวบ้านเข้าต่อสู้สกัดทัพพม่า แต่ก็สู้ไม่ได้ต้องแตกหนีกันไป ท้าวมหายศแม่ทัพพม่าจึงส่ง ขุนนาง3คนคือ หารฟ้าฟื้น หารฟ้าแมบ และหาญฟ้าง้ำ เข้ามาเจรจากับฝ่ายเมืองเขลางค์ให้ยอมแพ้ แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ พม่าจึงบุกเข้าเมืองและสังหารขุนนางทั้งสี่ แต่จเรน้อยหนีรอดไปได้และไปสมทหารพม่าไล่ติดตามมาทันที่ดอยประตูผาซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหน้าผาสูงชัน มีทางเข้า ออก เพียงทางเดียว พญาข้อมือเหล็กจึงให้จเรน้อยพาเจ้าลิ้นก่านไปหลบอยู่ในถ้ำ และได้เข้าต่อสู้กับทหารพม่าอย่างกล้าหารโดยใช้ดาบสองมือ ทหารพม่าล้มตายลงเป็นอันมาก จนทหารพม่าล่าถอยไปไม่กล้าบุกต่อ พญาข้อมือเหล็กอ่อนแรงถือดาบนั่งพิงหน้าผาคุมเชิงอยู่จนสิ้นใจ ฝ่ายทหารพม่าก็ไม่กล้าบุกเข้ามาเพราะนึกว่าเป็นกลอุบายจึงล่าถอยกลับเมืองเขลางค์ เมื่อเมื่อเจ้าลิ้นก่านและจเรน้อยออกมาจึงพบร่างพญาข้อมือเหล็กสิ้นใจพิงหน้าผาอยู่จึงได้ตั้งศาลเพียงตาและเชิญดวงวิญญาณของพญาข้อมือเหล็กมาสิงสถิตอยู่เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงความดีและความกล้าหาญไว้ให้บรรพชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงโดยตั้งชื่อว่าศาลพญาข้อมือเหล็กชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่าศาลเจ้าพ่อประตูผา












อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท




        อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองลำปางกับอำเภองาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กิโลเมตร ตรงกิโลเมตรที่ 768-769 แยกเข้าทางลูกรัง ประมาณครึ่งกิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงเชิงถ้ำภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก สลับซับซ้อนและมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมายที่มี ความสวยงามแตกต่างกันไปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไทในครั้งนั้นได้จารึกพระปรมาภิไธย ย่ปปร. ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม ทางอุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการ รายละเอียดให้ติดต่อฝ่ายจัดการอุทยานแห่งชาติ
      การเดินทาง ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงราย อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ


อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท





สะพานโยง


     




สะพานโยง หรือ สะพานข้ามลำน้ำงาว


สะพานโยง


       สะพานข้ามลำน้ำงาว หรือสะพานโยง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2471 โดยที่ตัวสะพานมีความยาว 80 เมตร กว้าง 4 เมตร เสากระโดงสองฝั่งสูง 18 เมตร ซึ่งนับได้ว่าเป็นสะพานเหล็กแขวนที่ใช้รอกดึง ไม่มีเสากลาง วางโครงเหล็กเหมือนทางรถไฟโดยใช้ไม้หมอนเรียงเป็นลูกระนาด ปูไม้กระดาษทับเฉพาะช่วงล้อรถยนต์ มีทางเดินเท้าทั้งสองฝั่ง และใช้สลิงยึดตลอดตัวสะพาน ซึ่งในปัจจุบันนี้เปิดให้เฉพาะการเดินข้ามฟากเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำรถยนต์หรือรถเตอร์ไซต์ผ่านโดนเด็ดขาด เนื่องจากจะทำการให้ตัวสะพานชำรุดเสียหายได้
       สะพานโยงหรือสะพานลอยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำงาว เป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันได้เลิกใช้แล้วเนื่องจากมี การตัดถนนเข้าสู่เมือง ไม่ให้รถวิ่งแล้วตัวสะพานโยงเป็นไม้กับเหล็ก สะพานโยงตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ ของเมืองงาวที่ชาวเมืองงาวภาคภูมิใจ



สะพานโยง อำเภอ งาว













อาหารพื้นบ้าน



แกงฮังเล



                                  http://f.ptcdn.info/157/020/000/1402863589-1402363697-o.jpg

วิธีการทำ

                  อย่างแรกที่ต้องทำคือ หั่นหมูสามชั้นเป็นชิ้นใหญ่พอสมควร  เคล้าด้วยซีอิ๊วดำหมักไว้  แล้วเคล้าเครื่องแกงกับหมูเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆผัดพอหมูตึงตัว ใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝา ตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ แล้วใส่ขิงซอย ถั่วลิสงคั่ว กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่ ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวด สิ่งสุดท้ายปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ







ข้าวแต๋นลำปาง


                                 
                                      http://www.banpao-lampang.com/acc/a2795445001.jpg


วิธีการทำ

                   เริ่มจากเราต้องเตรียมอุปกรณ์ แบบพิมพ์ ทำจากไม้ไผ่ หรือท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว สูง 1 เซนติเมตร จากนั้นก็นำ แตงโม 1 ลูก มาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปผสมน้ำเปล่าให้ได้ 4 แก้ว ใส่เกลือ น้ำอ้อยผง งาขาว(ถ้ามี) คนให้เข้ากัน เก็บใส่ภาชนะไว้ (ควรทำก่อนนี้งข้าว) (ถ้าไม่มีแตงโม อาจเป็นน้ำผลไม้ชนิดอื่นก็ได้ เข่น มะม่วง หรือผลไม้ตามฤดูกาล) จากนั้นก็นำข้าวสาร(ข้าวเหนียว) มาแช่น้ำ 1 คืน นึ่งให้สุก พักไว้ให้เย็น แล้วนำมาคลุกกับ น้ำแตงโมที่เตรียมไว้แล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วน้ำไปกดลงในพิมพ์ ไห้แน่นพอสมควร เมื่อทำเสร็จแล้วนำข้าวออกจากพิมพ์ วางบนตะแกรง แล้วนำไปตากแดด ประมาณ 1 วันครึ่ง เมื่อแห้งแล้ว เก็บใส่ถึง มัดปากถุงให้แน่น จากนั้นใส่น้ำมันพืชให้เต็มกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนจัด เอาข้าวที่จากแห้งแล้วลงทอด ประมาณ 40 วินาที ข้าวแต๋นจะลอยขึ้น ให้ตัดออก นำมาวางบนตะแกรง เพื่อสะเด็ดน้ำมัน และพักไว้ให้เย็นจากนั้นนำน้ำตาลปี๊บ เคียวไฟให้ตกทราย (ให้ละลายพอหยอดหน้าข้าวแต๋นได้) พักไว้ให้เย็นพอประมาณ แล้วนำมาหยดลงบนข้าวแต๋น นิยมหยอดเป็นวงกลมตามรูปข้าวแต๋น แผ่นหนึ่งอาจหยอดน้ำตาล 3-4 วง ขั้นตอนสุดท้ายคือใช้ถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหาร ขนาดที่ต้องการบรรจุขาย ถ้าจะให้ดี ปิดปากถุงให้มิดชิด กันลมเข้า วิธีง่ายๆ ไล่ลมออกจากถุง แล้วลนไฟจากเทียนไข หรือตะเกียงก็ได้